วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

เป็ด บาร์บารี่

การเลี้ยงเป็ดเป็ดบาร์บารี่การเลี้ยงเป็ดบาบารี่ฟาร์มเป็ดบาบารี่
เงินลงทุน
ขึ้นอยู่กับจำนวนของเป็ดที่เลี้ยง โดยแบ่งเป็น
- ค่าพันธุ์เป็ดเทศ ตัวละประมาณ 30-35 บาท (ราคาจำหน่ายของฟาร์มเอกชน)
- ค่าอาหารเป็ด (เช่น ปลายข้าว รำ กากถั่วเหลือง ปลาป่น เปลือกหอย เป็นต้น) ประมาณ 7 กิโลกรัม/ตัว
- ค่ายา + ค่าวัคซีน ประมาณ 1 บาท/ตัว
- ค่าโรงเรือนเลี้ยงเป็ด และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นอยู่กับจำนวนเป็ดและสภาพพื้นที่ที่เลี้ยงเป็ด
รายได้ เป็ดบาร์บารี่

ขึ้นอยู่กับจำนวนเป็ดที่เลี้ยง และต้นทุนค่าอาหาร
แหล่งจำหน่ายพันธุ์เป็ด
กรมปศุสัตว์, ฟาร์มเอกชน และตลาดทั่วไป
อุปกรณ์

โรงเรือน เล้าเลี้ยงลูกเป็ด หลอดไฟให้ความอบอุ่น รางใส่อาหาร รางใส่น้ำ
วิธีดำเนินการ เป็ดบาร์บารี่
การเลี้ยงเป็ดเทศ แบ่งเป็น
ตั้งแต่แรกเกิด-อายุ 3 สัปดาห์
การ ฟักไข่จะใช้เวลาประมาณ 28-35 วัน เมื่อลูกเป็ดเทศเกิด นำไปเลี้ยงในเล้า ซึ่งมีผ้าหรือกระสอบป่านตัดเย็บล้อมรอบเล้า เพื่อป้องกันลมโกรกถูกตัวลูกเป็ด พื้นเล้าควรปูด้วยแกลบหรือวัสดุที่สะอาด หนาประมาณ 2-3 นิ้ว จัดวางหลอดไฟให้ความอบอุ่น เตรียมรางใส่อาหาร รางใส่น้ำไว้ในเล้า ให้อาหารเป็ดวันละ 4-5 ครั้ง อุณหภูมิที่เหมาะสมในการกกลูกเป็ด ควรสังเกตจากปฏิกิริยาของลูกเป็ดด้วย ถ้ามีลูกเป็ดนอนสุมทับกันและมีเสียงร้อง แสดงว่าอุณหภูมิต่ำเกินไป ต้องเพิ่มความอบอุ่นให้ ถ้าลูกเป็ดกระจายอยู่และยืนอ้าปากหอบกางปีก แสดงว่าร้อนเกินไป ต้องลดอุณหภูมิลง ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะ ลูกเป็ดจะนอนราบกับพื้นกระจายอยู่ทั่วไป การกกลูกเป็ดควรกกประมาณ 3 สัปดาห์
อายุ 4-12 สัปดาห์
โรงเรือนสำหรับเลี้ยงเป็ด ควรแห้งสะอาด ไม่มีน้ำขัง ป้องกันแดดและฝนได้ดี รางอาหารควรวางห่างจากรางน้ำ มีผัก หญ้าสด หรือผักตบชวา ให้เป็ดกิน อาหารควรมีโปรตีนประมาณ 16% ถ้าเลี้ยงเป็ดเทศเพื่อจำหน่ายควรจำหน่ายอายุ 10-12 สัปดาห์
อายุประมาณ 13-24 สัปดาห์
ช่วง นี้เป็ดจะกินอาหารมากขึ้น การเจริญเติบโตน้อย จึงเลี้ยงด้วยอาหารให้เพียงพอสำหรับรักษาขนาดและน้ำหนักของเป็ดให้เพิ่มขึ้น เล็กน้อย อาหารที่ให้ช่วงนี้ ควรมีโปรตีนประมาณ 14%
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์
เป็ด ที่จะเริ่มไข่เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ วันหนึ่งควรให้อาหาร 2 ครั้ง เช้า-เย็น ปริมาณที่ให้แม่พันธุ์ 130-150 กรัม/ตัว/วัน พ่อพันธุ์ 200-250 กรัม/ตัว/วัน อาหารที่ให้ควรมีโปรตีนประมาณ 15-18% เป็ดเทศปีหนึ่งจะไข่ประมาณ 4-5ชุด ชุดละ 15-20 ฟอง สามารถไข่ได้ 2 ปี ลักษณะเป็ดเทศที่จะไข่มีขนสีดำเป็นมัน หน้าแดง ร้อง แม่เป็ดชอบไข่ในที่มืดสงบ จึงควรมีรังไข่บุด้วยฟางหรือวัสดุแห้งๆ จัดไว้ในมุมมืดของเล้าสำหรับแม่เป็ด
การป้องกันโรค เป็ดบาร์บารี่
โรคที่สำคัญในเป็ดเทศ ได้แก่ โรคอหิวาต์ และโรคดั๊กเพล็ก จึงต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
- โรคอหิวาต์ ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 1-1 เดือนครึ่ง ปีละ 4 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 2 ซีซี
- โรคดั๊กเพล็ก ฉีดวัคซีนเมื่อเป็ดอายุ 21 วัน ปีละ 2 ครั้ง โดยฉีดเข้ากล้ามตัวละ 1 ซีซี
ข้อแนะนำ เป็ดบาร์บารี่
1. ถ้ามีเงินลงทุนน้อย และมีพื้นที่กว้างขวาง เป็นที่โล่งใกล้แหล่งน้ำ รวมทั้งเลี้ยงเป็ดจำนวนไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องปลูกสร้างโรงเรือน แต่ถ้ามีจำนวนเป็ดมาก ก็สร้างโรงเรือนโดยใช้ตาข่ายล้อมรอบ มุงหลังคาด้วยจาก เพื่อเป็นการประหยัด
2. เป็ดเทศอายุตั้งแต่ 4 สัปดาห์ ขึ้นไป ควรให้กินผัก หญ้าสด หรือ ผักตบชวา เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต
**********************

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เป็ด Duck



เป็ด เป็นสัตว์ ปีกในวงศ์ Anatidae (เป็ดน้ำ) ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้วมีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายน้ำ ตัวมีหลายสี เช่น น้ำตาล ขาว เขียว ชมพู ม่วง ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายน้ำเก่ง กินปลา พืชน้ำและสัตว์เล็กๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดมัลลาร์ด (Anas platyrhynchos) เป็ดเป็นนกน้ำที่มีขนาดเล็กกว่าหงส์และห่าน และสามารถพบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม
เป็ดมีแหล่งอาหารที่หลากหลาย เช่น หญ้า เมล็ดข้าว พืชน้ำ ปลา แมลง
การเลี้ยงเป็ดมี 2 ประเภท คือ การเลี้ยงเพื่อเป็นแหล่งอาหารและการเลี้ยงเป็ดสวยงาม การเลี้ยงเป็ดเพื่อใช้เป็นอาหาร (ทั้งเนื้อและไข่) ซึ่งมีเป็นอยู่ไม่กี่พันธุ์ อาหารที่ทำจากเป็ดเช่นเป็ดปักกิ่ง การเลี้ยงเป็ดเพื่อความสวยงามพบได้น้อย เนื่องจากราคาค่อนข้างแพง หายาก ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นจึงพบได้ในสวนสัตว์ หรือได้รับเลี้ยงดูโดยคนมีฐานะ

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Duck

ลูกเป็ดขี้เหร่



ลูกเป็ดขี้เหร่ (เดนมาร์ก: Den grimme ælling; อังกฤษ: The Ugly Duckling) เป็นนิทานเรื่องสั้นของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1843 เป็นภาษาเดนมาร์ก ในหนังสือชื่อ Nye Eventyr. Første Bind. Første Samling. 1844  เนื้อเรื่องกล่าวถึงลูกเป็ดตัวหนึ่งที่มีหน้าตาขี้ริ้วแตกต่างจากเพื่อนๆ จนถูกรังเกียจและกีดกันออกจากฝูง เมื่อลูกเป็ดโตขึ้นจึงพบว่าตัวเองไม่ใช่เป็ด แต่เป็นหงส์สีขาว ที่มีรูปร่างงดงามกว่าใครๆ
 ข้อคิดของเรื่องอย่ากังวลในความแตกต่าง เพราะมันอาจเป็นจุดเด่นที่ดีมีประโยชน์ได้เมื่อถึงเวลา
เรื่องลูกเป็ดขี้เหร่นี้เป็นผลงานแต่งของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน โดยนำมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของเขาเอง ไม่ได้ดัดแปลงมาจากเรื่องแต่งของผู้อื่นเหมือนเรื่องอื่นๆ และเป็นนิทานเรื่องหนึ่งของเขาที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ถูกนำไปถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันโดยวอลต์ ดิสนีย์ ในปี 1931 และ 1939 ในปี 2006 ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องยาว เรื่อง The Ugly Duckling and Me!

ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/The_Ugly_Duckling